Traveling Bun Bangfai in Isan:
Identity, Value, and Cultural Commodities
* สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้จาก Proceeding การประชุมทางวิชาการด้านการท่องเที่ยว "การท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน: Liberty & Sustainability" หน้า 115 -145 จัดโดยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วันที่ 17 - 19 กรกฎาคม 2552
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการทำวัฒนธรรมให้เป็นสินค้าในการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟในภาคอีสาน โดยวิเคราะห์ระบบคุณค่าและมูลค่าภายใต้การจัดงานดังกล่าว
จากการศึกษาพบว่า การจัดงานบุญบั้งไฟที่มีอยู่ทั่วไปในภาคอีสานได้ถูกสร้างความแตกต่างสำหรับการท่องเที่ยวด้วยการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะท้องที่ และชาวอีสานที่จัดงานบุญที่เป็นงานใหญ่จะมีความภาคภูมิใจในการจัดงานในพื้นที่ของตนเองภายใต้ความเป็นท้องถิ่นนิยม ซึ่งในการจัดงานของจังหวัดยโสธร ได้ถูกผลิตซ้ำจนบุญบั้งไฟกลายเป็นเอกลักษณ์ของชาวยโสธร แม้แต่ชาวอีสานส่วนหนึ่งเองยังเชื่อว่าการท่องเที่ยวงานบุญบั้งไฟต้องไปที่จังหวัดยโสธร การเป็นงานใหญ่ในระดับชุมชนเมือง ทำให้เป็นต้นกำเนิดหลักของการเกิดธุรกิจสินค้าวัฒนธรรมบั้งไฟ และได้ขยายไปสู่พื้นที่อื่น ๆ
ภายใต้การเป็นงานบุญประเพณีดังกล่าวนี้ นอกจากผลประโยชน์ในเชิงการท่องเที่ยวแล้ว ยังมีธุรกิจชาวบ้านที่เกิดขึ้นจากการเป็นงานบุญประเพณีนี้ เช่น การทำบั้งไฟขนาดใหญ่ การทำบั้งไฟจิ๋ว ธุรกิจรถเอ้บั้งไฟ กลุ่มรับเหมารับจ้างเซิ้ง กลองยาว ธุรกิจรับเหมาจัดงานแข่งบั้งไฟหรือจับเวลาบั้งไฟ และธุรกิจพนันบั้งไฟที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น นโยบายการท่องเที่ยวของภาครัฐ ส่งผลต่อการแปลคุณค่างานบุญประเพณีให้เป็นมูลค่า รวมไปถึงการทำธุรกิจบั้งไฟของชาวบ้านท่ามกลางระบบทุนนิยม ซึ่งธุรกิจในงานบุญประเพณีเหล่านี้เป็นคุณค่าใหม่ของคนอีสานและได้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีคิดและการต่อสู้ดิ้นรนหาเลี้ยงชีพในการดำเนินชีวิตของชาวอีสานได้เป็นอย่างดี
คำสำคัญ: บุญบั้งไฟ, สินค้าวัฒนธรรม, คุณค่า, มูลค่า, เอกลักษณ์
Abstract
This paper presents a form of commodification of culture through Isan Bun Bangfai Rocket Festival by analyzing the confrontation of value and cost in Bun Bangfai.
The studies found that the Bun Bangfai which is mostly found over Isan area has shown a difference of identity. Isan people are so proud of their Bun as localism. In the case of Yasothon Province, this has been reproduced to become an identity of Yasothon that made some Isan people believe who want to watch Bun Bangfai should go to Yasothon. As it’s the case of urban traditional culture and tourism cultural performance, it’s the business of Bangfai to relate and expand to other area.
Moreover, the interests of local business is the signified case such as big Bangfai group, little Bangfai seller, Ae Bangfai car rental, local dancing group, tom-tom hiring, Bangfai performance organizers, and illegal Bangfai gambling. The government policy is the main cause of the commoditizing culture. However, the new local occupation is the livelihood of Isan people who struggle to live.
Key words: Bun Bangfai, Rocket Festival, Cultural Commodities, Cost, Value, Identity