บั้งไฟในเมือง: การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของประเพณีบุญบั้งไฟ
Bun Bangfai in Town: The Structural Transformation of Rocket Festival
* บทความนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ อุบลวัฒนธรรมครั้งที่ 1 หัวข้อ "คน ค้า ข้าว ในลุ่มน้ำโขง" ระหว่างวันที่ 23-24 ธันวาคม 2553
บทคัดย่อ
บุญบั้งไฟเป็นบุญประเพณีขอฝนประจำปีของชาวอีสานที่จังหวัดยโสธรจัดขึ้นเป็นงานใหญ่ระดับชาติโดยมีเทศบาลเมืองเป็นแม่งานหลักมาอย่างต่อเนื่อง การที่เป็นงานบุญในเขตเมืองและเป็นงานระดับชาติที่ตอบสนองต่อการท่องเที่ยวด้วยนั้น ส่งผลต่อโครงสร้างและรูปแบบการจัดงานที่แตกต่างจากพื้นที่ชนบท ซึ่งรูปแบบการจัดงานดังกล่าวส่งผลต่อรูปแบบการจัดงานบุญบั้งไฟในพื้นที่อื่น ๆ ด้วย
บทความนี้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงของประเพณีบุญบั้งไฟกรณีของจังหวัดยโสธร โดยวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างของประเพณีผ่านทฤษฎีการก่อตัวของโครงร่างความสัมพันธ์ทางสังคม (Structuration Theory) ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า การเปลี่ยนของประเพณีบุญบั้งไฟในปัจจุบัน เกิดขึ้นภายใต้ปฏิสัมพันธ์และปฏิบัติการของผู้กระทำการ (agency) และโครงสร้าง (Structure) ในรูปแบบของทวิภาวะของโครงสร้าง (Duality of Structure) ที่ทำให้เกิดการผลิต (produce) และผลิตซ้ำ (reproduce) งานดังกล่าว เช่น การอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมกับการเป็นประเพณีที่นำเสนอความเป็นสมัยใหม่ การเป็นประเพณีแบบเมืองและแบบชนบท เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไข กฎเกณฑ์ และความสามารถในการจัดการทรัพยากรของตัวกระทำที่มีความแตกต่างกันในบริบทของความเป็นเมือง
ค้นหาข้อมูลใน Blog
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment